Saturday, January 19, 2013

‘ทาชื่อจิ่งฉา’ เขาเป็นตำรวจ

บทความนี้จะเริ่มอธิบายสิ่งต่างๆครับ โดย รูปแบบประโยคที่ใช้อธิบายสิ่งต่างๆที่ใช้บ่อยมากคือ
นาม1ชื่อนาม2 // นาม1 นาม2 [รูปแบบประโยค]
(นาม1 และ นาม2 เป็น นาม หรือ สรรพนาม)
ใช้อธิบาย = นาม1 คือ/เป็น นาม2
คำศัพท์ที่ในหมวด [สิ่งของ] เพิ่มอีก 10 คำ ครับ
ชู’ ( - Shū) แปลว่า หนังสือ
เชอ’ (
- Chē) แปลว่า รถ
ปี่’ (
- Bǐ) แปลว่า ปากกา
จัวจึ’ (桌子 - Zhuōzi) แปลว่า โต๊ะ ตัวอักษร แปลว่า โต๊ะ แปลว่า ของเล็กๆ
อี่จึ’ (椅子- Yǐzi) แปลว่า เก้าอี้ ตัวอักษร แปลว่า เก้าอี้ แปลว่า ของเล็กๆ
เปยจึ’(杯子Bēizi) แปลว่า ถ้วย ตัวอักษร แปลว่า ถ้วย แปลว่า ของเล็กๆ
เอี่ยนจิ้ง’(Yǎnjìng) แปลว่า แว่นตา ตัวอักษร แปลว่า ตา แปลว่า กระจก
เตี้ยนหน่าว’ (电脑 - Diànnǎo) แปลว่า คอมพิวเตอร์ ตัวอักษร แปลว่า ไฟฟ้า แปลว่า สมอง
เซี่ยงจี’(相机 - Xiàngjī) แปลว่า กล้องถ่ายรูป ตัวอักษร แปลว่า ภาพถ่าย แปลว่า เครื่อง
โฉ่วจี’(
手机 - Shǒujī) แปลว่า โทรศัพท์มือถือ ตัวอักษร แปลว่า มือ แปลว่า เครื่อง

สร้างประโยคโดยนำคำศัพท์ที่มีมาแทนในรูปประโยคแล้วแปลเป็นไทยดูครับ

ตัวอย่าง : ‘หว่อชื่อหู้ชื่อ’
护士= ดิฉันเป็นพยาบาล // ‘ทาชื่อจิ่งฉา’ 警察= เขาเป็นตำรวจ // 
‘เจ้อชื่อชู’
= นี่คือหนังสือ // ‘น่าชื่อปี่’ = นั่นคือปากกา // ‘หว่อชื่อ’สมชาย สมชาย =ผมคือสมชายครับ

เพิ่มเติม
:
医生, , 电脑 , 医生, 先生,

ส่วนเสริมพิเศษ
คำศัพท์ [หม่าม้า] ฟังแล้วก็นึกถึงเสียงเรียกคุณแม่ เป็นคำศัพท์ใหม่ที่ผมจำได้เป็นคำแรกๆ
หม่า’(
- ) แปลว่า ม้า

วัฒนธรรม
ภาษาจีน เป็นอีกภาษาหนึ่งของชาวตะวันออก ที่มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาของชาวตะวันตกน้อย เมื่อเทียบกับไทยและญี่ปุ่น ทั้งนี้ผมเข้าใจว่า เป็นเพราะลักษณะภาษาเขียนของจีนที่ไม่ได้ใช้การผสมตัวอักษรเพื่อออกเสียง แต่เน้นไปที่ความหมายในตัวอักษรเอง ดังนั้นทางการจีนจึงมีงานหนักมากๆ ที่ต้องบรรจุศัพท์ใหม่ๆจำนวนมากตลอดเวลา โดยเฉพาะศัพท์ทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยผสมขึ้นจากตัวอักษรเดิมที่มีอยู่ ส่งผลให้ภาษาจีนมีศัพท์ที่ใช้เรียก
computer,internet,software,DNA ,call center ขณะที่ภาษาไทยและญี่ปุ่นใช้ทับศัพท์

Wednesday, January 16, 2013

แซ่ของคนจีน

แซ่ของคนจีนที่มีคนใช้สูงสุด 20 อันดับ (Wikipedia)
      Wáng  แซ่หวัง [เฮ้ง]
             แซ่หลี่ [หลี]
      Zhāng  แซ่จาง [เตียว]
      Liú      แซ่หลิว [เล่า]
      Chén   แซ่เฉิน [ตั้ง]
      Yáng   แซ่หยาง [เอี๊ย]
      Huáng แซ่หวง [อึ๊ง]
      Zhào   แซ่จ้าว [เตี๋ย]
           แซ่อู๋ [โง้ว]
      Zhōu   แซ่โจว [จิว]
            แซ่ฉี [ซื้อ]
      Sūn     แซ่ซุน [ซึง]
            แซ่หม่า [เบ๊]
      Zhū     แซ่จู [ชู]
            แซ่หู [โอ๊ว]
      Guō    แซ่กัว [ก๊วย]
            แซ่เหอ[ฮ่อ]
      Gāo    แซ่เกา[กอ]
      Lín      แซ่หลิน[ลิ้ม]
      Luō     แซ่ลัว[หลอ]

สร้างประโยคหรือคำศัพท์โดยนำคำศัพท์ที่มีมาแทนในรูปแบบในบทแล้วแปลเป็นไทยดูครับ
ตัวอย่าง
หวังอีเชิง
医生 = คุณหมอหวัง // หลีเหล่าชือ = คุณครูหลี่ // ‘จางจิ่งฉา 警察 = คุณตำรวจจาง // ‘หลิวฮู้ชื่อ护士 = คุณพยาบาลหลิว // ‘เฉินฟูเหยิน夫人 = คุณนายเฉิน


เพิ่มเติม: , 先生, 小姐

ส่วนเสริมพิเศษ
คำศัพท์ [ฮักอ้าย] กึ่งไปทางอีสานนิดครับความหมายก็คือ รักพี่(ชาย)”  สำหรับภาษาจีน อ้าย แปลว่ารัก รวมกับศัพท์จากบทก่อนๆได้ว่า หว่ออ้ายหนี่ แปลว่าฉันรักเธอ
อ้าย’ (
- Ài) แปลว่า รัก


วัฒนธรรม
จากข้อมูลแซ่ที่มีคนใช้มากที่สุด 20 อันดับข้างบน คำในที่เห็น
[…] คือเสียงที่ถอดจากสำเนียงแต้จิ๋ว พบว่า ปกติก็เพี้ยนอยู่แล้วพอถอดเสียงด้วยภาษาไทยนี่บางคำเพี้ยนแบบไม่ใกล้เคียง มีคนเล่าว่า มีฮ่องเต้องค์นึงในราชวงศ์ชิงซึ่งสมัยนั้นก็ปกครองมาถึงดินแดนทางใต้ด้วย ได้พูดตลกๆว่า 'เทียนปู๋ผ้า ตี้ปู่ผ้า จุ้ยผ้ากว่างตงเหยินชัวผู่ทงฮั้ว' 天不怕,地不怕,最怕广东人说普通话 แปลตรงตัวว่า ฟ้าไม่กลัว ดินไม่กลัว แต่กลัวคนกวางตุ้งพูดจีนกลาง  ซึ่งหมายความว่า คนทางใต้พูดจีนกลางฟังยากมาก

วัฒนธรรม
ผู้หญิงชาวจีนเมื่อแต่งงานแล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลแบบคนไทย หรือคนตะวันตก ใช้ชื่อแซ่ เดิม แต่การแต่งงาน ก็ถือว่าเข้าไปเป็นคนของตระกูลฝ่ายชาย

วัฒนธรรม
พ่อแม่ชาวจีนจำนวนมากอยากได้ลูกชายมากกว่าลูกสาว เนื่องจากลูกสาวต้องแต่งออกไปตระกูลอื่น
และด้วยเหตุผลที่สมัยก่อนของคนจีนที่ถือว่าการมีคนในตระกูลมากๆเป็นเรื่องดี  เช่นมีคำอวยพรคู่แต่งงานใหม่ว่า ‘เหมียนเหมียนกัวเตี๋ย’ 绵绵瓜瓞 แปลตรงตัวก็คือ ... ความหมายที่เราคุ้นเคยก็คือ ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง 

Thursday, January 10, 2013

‘หว่อเจี้ยว’สมชาย ผมชื่อสมชาย

บทนี้จะเกี่ยวกับชื่อคนและการแนะนำตัว
การแนะนำตัว มีประโยคที่ใช้มากก็คือ
นาม1เจี้ยวชื่อเฉพาะ // นาม1 ชื่อเฉพาะ [รูปแบบประโยค]
(นาม1 เป็น นาม หรือ สรรพนาม)
ใช้อธิบาย = นาม1 ชื่อ/ถูกเรียกว่า ชื่อเฉพาะ
คำศัพท์ในหมวดสรรพนามเพิ่มอีก 6 คำ ครับ
หว่อ’ ( - Wǒ) แปลว่า ผม,ฉัน,ดิฉัน,กู,เรา (ใช้เรียกตัวเอง)
ทา’ (
- Tā) แปลว่า เขา (ใช้เรียกแทนผู้ชายคนอื่นที่ไม่ใช้ผู้เรียกและคู่สนทนา)
ทา’ (
- Tā) แปลว่า หล่อน (ใช้เรียกแทนผู้หญิงคนอื่นที่ไม่ใช้ผู้เรียกและคู่สนทนา)
ทา’ (
- Tā) แปลว่า มัน (ใช้เรียกแทนสัตว์และสิ่งของ)
เจ้อ’ (
- Zhè) แปลว่า นี่,นี้ (ใช้เรียกแทนสิ่งที่อยู่ใกล้)
น่า’ (
- Nà) แปลว่า นั่น,นั้น (ใช้เรียกแทนสิ่งที่อยู่ไกล)

คำศัพท์ในหมวดคำนามบุคคลอีก 4 คำ ครับ
เซียนเชิง’ (先生- Xiānshēng) แปลว่า คุณ (ใช้สำหรับผู้ชาย)ตัวอักษร แปลว่า ก่อน แปลว่า เกิด
หนี่ชื่อ’ (
女士 - Nǚshì) แปลว่า คุณ (ใช้สำหรับผู้หญิง)ตัวอักษร แปลว่า หญิง แปลว่า องครักษ์
เสียวเจ่’ (小姐 - Xiǎojiě) แปลว่า คุณ (ใช้สำหรับผู้หญิงอายุน้อย) ตัวอักษร แปลว่า น้อย แปลว่า พี่สาว
ฟูเหยิน’ (
夫人 - Fūrén) แปลว่า คุณนาย (ใช้สำหรับผู้หญิงแต่งงานแล้ว)ตัวอักษร แปลว่า สามี แปลว่า คน

สร้างประโยคโดยนำคำศัพท์ที่มีมาแทนในรูปประโยคแล้วแปลเป็นไทยดูครับ

ตัวอย่าง : ‘หว่อเจี้ยว’สมชาย สมชาย= ผมชื่อสมชาย // ‘ทาเจี้ยว’สมหญิง สมหญิง= หล่อนชื่อสมหญิง // ‘ทาเจี้ยว’โอบามา‘เซียนเชิง’ โอบามา先生 = เขาคือคุณโอบาม่า

ส่วนเสริมพิเศษ
คำศัพท์
[แพงหูฉี่] ในไทยก็ใช้กันเป็นที่เข้าใจว่า แพงมากโดยมาจากคำจีนกวางตุ้ง หื้อฉี่ หมายถึง หูฉลามนั่นเองซึ่งเป็นอาหารจีนที่แพงมาก  แพงหูฉี่ก็เป็นการเปรียบเทียบของสองวัฒนธรรม ตรงตัวก็คือ แพงยังกะหูฉลาม
หยีชื่อ’ (
- Yúchì) แปลว่า หูฉลาม ตัวอักษร แปลว่า ปลา แปลว่า ครีบ
ชื่อของคนจีน ต่างจากคนไทย โดยจะขึ้นต้นด้วยแซ่(นามสกุล)และตามด้วยชื่อตัว เช่น
ประธานาธิบดี หูจิ่นเทา’ (锦涛 - Hújǐntāo) คือคน แซ่ หู ชื่อ จิ่นเทา
หรือดาราดัง หลิวเต๋อหัว’ (
刘德 – Liúdéhuá) คือคนแซ่  หลิวชื่อ เต๋อหัว
ในจีนในการระบุถึงตัวบุคคล นิยมใช้กันหลายแบบ

- เวลาเรียกคนที่ไม่ได้เป็นญาติกัน จะเรียกด้วยแซ่กันมาก โดยใช้แซ่ขึ้นต้นและตามด้วยอาชีพ ตำแหน่ง หรือคำให้เกียรติ เช่น
เซียนเชิง เสียวเจ่หรือ ไท่ไท่’(ตามหลังแซ่ของสามี)  ฟูเหยิน’(ตามหลังแซ่ของสามี)  เพื่อความสุภาพ
- หรือจะเรียกนับญาติแบบที่คนไทยก็คุ้นเคย โดย ใช้แซ่ขึ้นต้นและตาม พี่ ลุง น้า อา
- แต่ถ้าเรียกเพื่อนที่สนิทกันหรือเด็กๆก็สามารถเรียกชื่อตัวได้ 
- หรือจะเรียก
เหล่าตามด้วยแซ่ ใช้กับคนอายุเท่ากันหรือมากกว่า ถ้าอายุน้อยกว่าก็จะเรียก เสี่ยว นำหน้าแซ่ ได้เช่นกัน
*ถ้าผู้หญิงเรียกเพื่อนที่เป็นผู้ชาย แซ่ กู่ ว่า
เหลากู่ จะแปลกๆหน่อยเพราะ เหลากู่มีคำพ้องเสียงแปลว่าสามี แต่ถ้าเป็นผู้ชายเรียกก็ปกติไม่ได้มีใครคิดมาก เพราะ การผิดเพศยังไม่ได้รับการยอบรับแพร่หลายในจีน

วัฒนธรรม
เมื่อก่อน คนจีนมีลูกและพี่น้องมาก ในครอบครัวมักจะเรียกลำดับที่แทนชื่อตัว เช่น ลูกสี่ พี่ใหญ่ น้องเล็ก ลุงหก อาเจ็ด น้าสาม แต่ตอนนี้ คนจีนมีลูกน้อยลงมากเพียง 1 คน ไม่มีพี่น้อง และมักมีลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยายแค่คนเดียว ไม่ต้องใส่ตัวเลขแล้ว และเวลาเรียกเด็กก็มักเรียกให้น่ารัก เช่น
เหวยเหว่ย เป๋ยเป่ย แทนการเรียก ลำดับที่กันแล้ว